แก๊สชีวภาพแบบถังครอบลอย (Floating Drum) 

หรือเรียกอีกอย่างว่าแบบอินเดีย น่าจะเป็นแบบแรกๆที่สร้างในประเทศไทย มีส่วนสำคัญ สองส่วนคือ บ่อหมักและถังครอบลอยที่เป็นถังเหล็กทำหน้าที่เป็นถังเก็บแก๊ส ลอยขึ้นลอยลงตามปริมาณแก๊สที่มีในถัง บ่อหมักแบบนี้มี 2ชนิด คือชนิดชั้นเดียว และชนิดสองชั้น ชนิดชั้นเดียวนั้นถังเหล็กจะครอบอยู่ภายในถังหมัก ดังนั้นจะมีกลิ่นเหม็นและแก๊สเล็ดลอดออกมา แต่ชนิดสองชั้นบ่อหมักจะอยู่ภายในถังเหล็ก แล้วมีบ่อภายนอกอีกชั้นหนึ่งใส่น้ำเพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็นและป้องกันการเล็ดลอดของแก๊ส ทำหน้าที่ในการระบายแก๊สออกเมื่อมีแก๊สมากเกินไป แบบที่นำเสนอนี้เป็นบ่อแก๊สแบบสองชั้น ขนาดช่องเก็บแก๊ส 1.3 ลูกบาศก์เมตร ปริมาณแก็สใช้ใด้ 45นาที ถึง1ชั่วโมงครึ่ง เหมาะสมกับการเลี้ยงหมู 2ตัวจนถึง15ตัว ปริมาณที่เหมาะสมที่สุดคือ10ตัว เกษตรกรสามารถสร้างได้เอง วัสดุอุปกรณ์ต่างๆหาได้ตามร้านขายเครื่องก่อสร้างทั่วไป ยกเว้นถังเหล็กต้องมีการจ้างให้ช่างเหล็กทำให้ อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาถังเหล็ก

 

 ***ขอสงวนสิทธิ์ภาพทุกภาพห้ามค้ดลอกไปลงเวบไซด์อื่นก่อนได้รับอนุญาต

ข้อดีของบ่อแก็สชนิดนี้คือการใช้พื้นที่น้อย ทนทาน ราคาเริ่มต้นสร้างอาจจะแพงกว่าบ่อแก๊สขนาดเล็กแบบอื่นๆเช่นแบถุงพลาสติก แต่เมื่อเทียบราคากับอายุการใช้งานแล้ว บ่อชนิดนี้ราคาถูกกว่า การจัดการดูแลรักษาง่ายกว่า

 

อุปกรณ์ที่สำคัญคือถังเหล็ก ต้องมีการทาสีกันสนิม และฟลิ้นโค๊ทเพื่อป้องกันสนิม ทำให้การใช้ถังเหล็กยืนยาวมากยิ่งขึ้น

 

 น้ำและกากมูลที่ออกมาเราสามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยได้เลย หรือกากอาจตากแห้งทำเป็นปุ๋ยผง ส่วนน้ำให้ผสมกับน้ำสะอาดให้เจือจางแล้วใช้รดผัก ประสิทธิภาพเช่นเดียวกันกับปุ๋ยน้ำหมักจากมูลสัตว์

  

รางระบายกากที่ย่อยแล้วจากบ่อหมัก

 

 แปลนบ่อหมัก

 

 ลักษณะการสร้างของของบ่อแก๊ส

ดาวน์โหลดวิธีการสร้าง

กลับหน้าเดิม 

Make a Free Website with Yola.